25 พ.ค. 2554

งาน ม.3 (ส่งด้วยครับ)

เครื่องดนตรีพื้นบ้าน
เครื่องดนตรีพื้นบ้าน  หมายถึง  เครื่องดนตรีที่ชาวบ้านในท้องถิ่นต่าง ๆ  ได้คิดค้นและประดิษฐ์ขึ้นใช้เอง  จะสะท้อนให้เห็นชีวิตความเป็นอยู่  ขนบธรรมเนียม  ประเพณีความเชื่อต่าง ๆ 
                เครื่องดนตรีพื้นเมืองนี้มีอยู่ทุกภาค  ภาคเหนือ  เช่น  สะล้อ  ซึง  เป็นต้น  ภาคอีสาน  เช่น  โปงลาง  แคน  โหวต  พิณอีสาน  เป็นต้น  ภาคใต้  เช่น  ฆ้องคู่  ทับ  เป็นต้น
1. ภาคกลาง
ซอสามสาย เป็นซอ ที่มีรูปร่างงดงามที่สุด ซึ่งมีใช้ใน วงดนตรีไทยมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย (พ.ศ. ๑๓๕๐) แล้ว ซอสามสายขึ้นเสียง ระหว่างสายเป็นคู่สี่ใช้บรรเลงในพระราชพิธี อันเนื่องด้วยองค์พระมหากษัตริย์ ภายหลังจึง บรรเลงประสมเป็นวงมโหรี

ซอด้วง เป็นเครื่องสายชนิดหนึ่ง บรรเลงโดยการใช้คันชักสี กล่องเสียง ทำ ด้วยไม้เนื้อแข็ง ขึงหน้าด้วยหนังงู มีช่อง เสียงอยู่ด้านตรงข้าม คันทวนทำด้วยไม้เนื้อ แข็ง ยาวประมาณ ๖๐ เซนติเมตร มีลูกบิดขึ้นสาย อยู่ตอนบน ซอด้วงใช้สายไหมฟั่นหรือสาย เอ็น มี ๒ สาย ขนาดต่างกัน คันชักอยู่ระหว่าง สาย ยาวประมาณ ๕๐ เซนติเมตร ซอด้วงมีเสียงแหลม ใช้ เป็นเครื่องดนตรีหลักในวงเครื่องสาย
ซออู้ เป็นเครื่องสายใช้สี กล่องเสียงทำด้วยกะโหลกมะพร้าว ขึ้นหน้าด้วยหนังวัว มีช่องเสียงอยู่ด้านตรง ข้าม คันทวนทำด้วยไม้เนื้อแข็ง ตอนบนมี ลูกบิดสำหรับขึงสาย สายซอทำด้วยไหมฟั่น มีคันชักอยู่ระหว่างสาย ความยาวของคันซอ ประมาณ ๖๐ เซนติเมตร คันชักประมาณ ๕๐ เซนติมตร ซอ อู้มีเสียงทุ้มต่ำ บรรเลงคู่และสอดสลับกับ ซอด้วงในวงเครื่องสาย
จะเข้ เป็นเครื่องสาย ที่ใช้บรรเลงด้วยการดีด โดยปกติมีขนาดความ สูงประมาณ ๒๐ เซนติเมตร และยาว ๑๔๐ เซนติเมตร ตัว จะเข้ทำด้วยไม้เนื้ออ่อน ขุดเป็นโพรง มีสาย ๓ สาย สายที่ ๑-๒ ทำด้วยไหมฟั่น สาย ที่ ๓ ทำด้วยทองเหลือง วิธีการบรรเลงมือซ้าย จะทำหน้าที่กดสายให้เกิดเสียงสูง- ต่ำ ส่วนมือขวาจะดีดที่สายด้วยวัตถุที่ ทำจากงาสัตว์

ขลุ่ย ของไทยเป็นขลุ่ย ในตระกูลรีคอร์ดเดอร์ คือ มีที่บังคับแบ่งกระแส ลม ทำให้เกิดเสียงในตัวไม่ใช่ขลุ่ยผิว ตระกูลฟลุตแบบจีน ขลุ่ยไทยมีหลายขนาด ได้แก่ ขลุ่ยอู้ มีเสียงต่ำที่สุด ระดับกลาง คือ ขลุ่ย เพียงออ เสียงสูง ได้แก่ ขลุ่ยหลีบ และยังที่มี เสียงสูงกว่านี้คือ ขลุ่ยกรวดหรือขลุ่ยหลีบกรวด อีกด้วย ขลุ่ยเป็นเครื่องดนตรีในวงเครื่องสายและ วงมโหรี
ปี่ เป็นเครื่องเป่าที่มีลิ้น ทำด้วยใบตาล เป็นเครื่องกำเนิดเสียง เป็นประเภทลิ้นคู่ (หรือ ๔ ลิ้น) เช่นเดียวกับโอโบ ( Oboe) มีหลายชนิดคือ ปี่นอก ปี่ใน ปี่ กลาง ปี่มอญ ปี่ไทยที่เด่นที่สุด คือ ปี่ ในตระกูลปี่ใน ซึ่งมีรูปิดเปิดบังคับลม เพียง ๖ รู แต่สามารถบรรเลงได้ถึง ๒๒ เสียง และ สามารถเป่าเลียนเสียงคนพูดได้ชัดเจน
ระนาดเอก เป็นระนาดเสียงแหลมสูง ประกอบ ด้วยลูกระนาดที่ทำด้วยไม้ไผ่บงหรือไม้ เนื้อแข็ง เช่น ไม้ชิงชัน ๒๑-๒๒ ลูก ร้อยเข้า ด้วยกันเป็นผืนระนาด และแขวนหัวท้ายทั้ง ๒ ไว้บนกล่องเสียงที่เรียกว่า รางระนาด ซึ่งมี รูปร่างคล้ายเรือ ระนาดเอกทำหน้าที่นำวง ดนตรีด้วยเทคนิคการบรรเลงที่ประณีตพิศดาร มักบรรเลง ๒ แบบ คือ ตีด้วยไม้แข็ง เรียกว่า ปี่พาทย์ ไม้แข็ง และตีด้วยไม้นวม เรียกปี่พาทย์ไม้นวม ระนาดเอกเรียงเสียงต่ำไปหาสูงจาก ซ้ายไปขวา และเทียบเสียงโดยวิธีใช้ชันโรงผสม ผงตะกั่วติดไว้ด้านล่างทั้งหัวและท้ายของ ลูกระนาด
ระนาดทุ้ม ทำด้วยไม้ไผ่ หรือไม้เนื้อแข็งมีผืนละ ๑๘ ลูก มีรูป ร่างคล้ายระนาดเอกแต่เตี้ยกว่าและกว้างกว่าเล็ก น้อย ระนาดทุ้มใช้บรรเลงหยอกล้อกับระนาดเอก
ฆ้องวงใหญ่ เป็นหลักของวงปี่ พาทย์ และวงมโหรีใช้บรรเลงทำนองหลัก มีลูกฆ้อง ๑๖ ลูก ประกอบด้วยส่วนสำคัญ ๒ ส่วน คือ ลูก ฆ้อง : เป็นส่วนกำเนิดเสียงทำด้วยโลหะผสม มี ลักษณะคล้ายถ้วยกลม ๆ ใหญ่เล็กเรียงตามลำดับเสียง ต่ำสูง ด้านบนมีตุ่มนูนขึ้นมาใช้สำหรับ ตีและใต้ตุ่มอุดไว้ด้วยตะกั่วผสมชันโรง เพื่อ ถ่วงเสียงให้สูงต่ำตามต้องการ  เรือนฆ้อง : ทำด้วยหวายขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๑ นิ้ว เศษ ขดเป็นวง และยึดไว้ด้วยไม้เนื้อแข็ง กลึงเป็นลวดลายคล้ายลูกกรง และมีไม้ไผ่ เหลาเป็นซี่ ๆ ค้ำยันให้ฆ้องคงตัวเป็น โครงสร้างอยู่ได้ การผูกลูกฆ้องแขวนเข้ากับ เรือนฆ้อง ผูกด้วยเชือกหนังโดยใช้เงื่อน
ฆ้องวงเล็ก มีขนาดเล็กกว่า แต่ เสียงสูงกว่าฆ้องวงใหญ่มีวิธีตีเช่นเดียว กับฆ้องวงใหญ่ แต่ดำเนินทำนองเป็นทางเก็บหรือ ทางอื่นแล้วแต่กรณี บรรเลงทำนองแปรจากฆ้องวง ใหญ่ ฆ้องวงเล็กมี ๑๘ ลูก


โทน : รูปร่างคล้ายกลองยาวขนาดเล็ก ทำด้วยไม้ หรือดินเผา ขึงด้วยหนังดึงให้ตึงด้วยเชือก หนัง ตัวกลองยาวประมาณ ๓๔ เซนติเมตร ตรงกลางคอด ด้านตรงข้ามหน้ากลองคล้ายทรงกระบอกปากบานแบบ ลำโพง ตรงเอวคอดประมาณ ๑๒ เซนติเมตร ใช้ตีคู่ กับรำมะนา  รำมะนา : เป็นกลองทำด้วยไม้ขึง หนังหน้าเดียวมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๒๒ เซนติเมตร ใช้ในวงเครื่องสาย
กลองแขก เป็น กลองที่ตีหน้าทับได้ทั้งในวงปี่พาทย์ มโหรีและบางกรณีวงเครื่องสายก็ได้ ตีด้วย มือทั้ง ๒ หน้า คู่หนึ่งประกอบด้วยตัวผู้ ( เสียงสูง) และตัวเมีย (เสียงสูง)
กลองสองหน้า เป็นชื่อของกลองชนิดหนึ่ง ซึ่งมีลักษณะเหมือนกลองลูกหนึ่งในเปิงมางคอกขึง ด้วยหนังเลียดรอบตัว ใช้ในวงปี่พาทย์ หรือมโหรีบางกรณี

2. ภาคเหนือ
สะล้อหรือ ทะล้อ เป็นเครื่องสายบรรเลงด้วยการสี ใช้คัน ชักอิสระ ตัวสะล้อที่เป็นแหล่งกำเนิดเสียงทำ ด้วยกะลามะพร้าว ตัดและปิดหน้าด้วยไม้บาง ๆ มีช่องเสียงอยู่ด้านหลัง คันสะล้อทำด้วย ไม้สัก หรือไม้เนื้อแข็งอื่น ๆ โดยปกติจะ ยาวประมาณ ๖๐ เซนติเมตร ลูกบิดอยู่ด้านหน้านิยม ทำเป็นสองสาย แต่ที่ทำเป็นสามสายก็ มีสาย ทำด้วยลวด (เดิมใช้สายไหมฟั่น ) สะล้อมี ๓ ขนาด คือ สะล้อเล็ก สะล้อกลาง และสะล้อใหญ่ ๓ สาย
ซึง เป็นเครื่องสายชนิดหนึ่งใช้บรรเลงด้วยการดีด ทำ ด้วยไม้สักหรือไม้เนื้อแข็ง มีช่องเสียงอยู่ ด้านหน้า กำหนดระดับเสียงด้วยนมเป็นระยะ ๆ ดีด ด้วยเขาสัตว์บาง ๆ มีสายทำด้วยโลหะ เช่น ลวด หรือทองเหลือง (เดิมใช้สายไหมฟั่น) ๒ สาย
ปี่ เป็นปี่ลิ้นเดียว ที่ตัวลิ้นทำด้วย โลหะเหมือนลิ้นแคน ตัวปี่ทำด้วยไม้ซาง ที่ ปลายข้างหนึ่งฝังลิ้นโลหะไว้เวลาเป่าใช้ปากอม ลิ้นที่ปลายข้างนี้ อีกด้านหนึ่งเจาะรู บังคับเสียงเรียงกัน ๖ รู ใช้ปิดเปิดด้วยนิ้ว มือทั้ง ๒ นิ้ว เพื่อให้เกิดทำนองเพลง มี ๓ ขนาด ได้แก่ ขนาดใหญ่เรียก ปี่แม่ ขนาดรองลง มาเรียก ปี่กลาง และขนาดเล็กเรียก ปี่ก้อย นิยม บรรเลงประสมเป็นวงเรียก วงจุมปี่ หรือปี่จุม หรือบรรเลงร่วมกับซึงและสะ
ปี่ แน มีลักษณะคลายปี่ไฉน หรือปี่ชวา แต่มี ขนาดใหญ่กว่า เป็นปี่ประเภทลิ้นคู่ทำด้วยไม้ เนื้อแข็ง มีรูบังคับเสียง เช่นเดียวกับปี่ใน นิยมบรรเลงในวงประกอบกับฆ้อง กลอง ตะหลดปด และกลองแอว เช่น ในเวลาประกอบการฟ้อน เป็นต้น มี ๒ ขนาด ได้แก่ ขนาดเล็กเรียก แนน้อย ขนาดใหญ่ เรียก แนหลวง
พิณเปี๊ยะ หรือ พิณเพียะ หรือบางทีก็เรียกว่า เพียะ หรือเปี๊ยะ กะโหลกทำด้วยกะลามะพร้าว เวลาดีดเอา กะโหลกประกบติดไว้กับหน้าอก ขยับเปิด-ปิด เพื่อให้เกิดเสียงกังวานตามต้องการ สมัยก่อนหนุ่มชาว เหนือนิยมเล่นดีดคลอการขับร้องในขณะไป เกี้ยวสาวตามหมู่บ้านในยามค่ำคืน ปัจจุบันมี ผู้เล่นได้น้อยมาก
กลองตึ่งโนง เป็นกลอง ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ตัวกลองจะยาว มากขนาด ๓-๔ เมตรก็มี ใช้ตีเป็น อาณัติสัญญาณประจำวัด และใช้ในกระบวนแห่กระบวนฟ้อน ต่าง ๆ ประกอบกับตะหลดปด ปี่แน ฉาบใหญ่ และฆ้องหุ่ย ใช้ตีด้วยไม้ เวลาเข้ากระบวน จะมีคนหาม
กลองสะบัดชัยโบราณ เป็นกลองที่ มีมานานแล้วนับหลายศตวรรษ ในสมัยก่อนใช้ ตียามออกศึกสงคราม เพื่อเป็นสิริมงคล และเป็น ขวัญกำลังใจให้แก่เหล่าทหารหาญในการต่อ สู้ให้ได้ชัยชนะ ทำนองที่ใช้ในการตี กลองสะบัดชัยโบราณมี ๓ ทำนอง คือ ชัยเภรี, ชัย ดิถี และชนะมาร

3. ภาคอีสาน
แคน เป็น เครื่องดนตรีที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดของ ชาวภาคอีสานเหนือ และอีสานภาคกลางไม่รวมอีสาน ใต้ที่มีอิทธิพลเขมร ได้แก่ "แคน" แคนเป็นเครื่องดนตรีสมบูรณ์แบบที่สุด ที่มีประวัติ ความเป็นมาย้อนหลังไปหลายพันปี แคนทำ ด้วยไม้ซาง มีลิ้นโลหะ เช่นดีบุก เงิน หรือทองแดง บางๆ ประกอบไว้ในส่วนที่ประกอบอยู่ในเต้าแคน แคนมีหลายขนาด เช่น แคน ๗ แคน ๙ ข้าง ๆ เต้าแคน ด้านบนมีรูปิดเปิดบังคับเสียง เวลา เป่า เป่า ที่เต้าแคนด้านหน้า ใช้มือทั้งสอง ประกอบจับเต้าแคนในลักษณะเฉียงเล็กน้อย แคนเป็น เครื่องดนตรีที่บรรเลงได้ทั้งทำนองเพลงประสานเสียง และให้จังหวะในตัวเอง จึงมีลีลาการบรรเลง ที่วิจิตรพิสดารมากระบบเสียงของแคน เป็นทั้งระบบ ไดอะโทนิค และเพนตะโทนิค มีขั้น คู่เสียงที่เล่นได้ทั้งแบบตะวันตกและแบบ ไทยรวมทั้งคู่เสียงระดับเดียวกันอีกด้วย
โหวด เป็นเครื่องเป่าชนิดหนึ่งที่ไม่มีลิ้น เกิดจากกระแสลมที่เป่าผ่านไม้รวกหรือไม้ เฮี้ย (ไม้กู่แคน) หรือไม้ไผ่ ด้านรู เปิดของตัวโหวดทำด้วยไม้รวกขนาดเล็ก สั้น ยาว (เรียงลำดับตามความสูงต่ำของเสียง) ติด อยู่รอบกระบอกไม้ไผ่ที่ใช้เป็นแกนกลาง ติดไว้ด้วยขี้สูด มีจำนวน ๖-๙ เลา ความ ยาวประมาณ ๒๕ เซนติเมตร เวลาเป่าจะหมุนไปรอบๆ ตามเสียงที่ต้องการ
พิณเป็นเครื่องดนตรีที่บรรเลงด้วยการดีด มี ๒-๓ สาย แต่ขึ้นเป็นสองคู่ โดยขึ้นคู่ ๕ ดีดเป็นทำนองเพลง ตัว พิณและคันทวนนิยมแกะด้วยไม้ชิ้นเดียวกัน มีนมสำหรับตั้งเสียง สายพิณนิยมทำด้วยโลหะ โดยเฉพาะสายลวดเบรคจักรยาน ที่ดีดนิยมทำด้วยขาสัตว์แบนๆ เหลาให้บางพอที่จะดีด สะบัดได้
โปงลางเป็นเครื่องดนตรีประเภทที่บรรเลง ทำนองด้วยการตีเพียงชนิดเดียวของภาคอีสาน โดย บรรเลงร่วมกันกับแคน พิณและเครื่องประกอบจังหวะ หรือ บรรเลงเดี่ยว ตังโปงลางทำด้วยท่อนไม้แข็งขนาดต่างๆ กันเรียงตามลำดับเสียงร้อยด้วยเชือกเป็นลูกระนาด ปลายข้างเสียงสูงผูกแขวนไว้กับกิ่งไม้ และ ข้างเสียงต่ำปล่อยทอดเยื้องลงมาคล้องไว้กับ หัวแม่เท้าของผู้บรรเลง หรือคล้องกับวัสดุ ปกติ ผู้เล่นโปงลางรางหนึ่งมี ๒ คน คือ คนบรรเลง ทำนองเพลงกับคนบรรเลงเสียงกระทบแบบคู่ประสาน ไม้ ที่ตีโปงลางทำด้วยไม้เนื้อแข็งเป็นรูปคล้าย ค้อนตีด้วยมือสองข้าง ข้างละอัน ขนาดของโปงลางไม่มีมาตรฐานแน่นอน
จะเข้กระบือเป็นเครื่องดนตรีสำคัญชิ้นหนึ่งในวงมโหรีเขมร เป็นเครื่องดนตรีประเภทดีดในแนวนอน มี ๓ สาย สมัยก่อนสายทำจากเส้นไหมฟั่น ปัจจุบันทำจาก สายเบรคจักรยาน การบรรเลงจะใช้มือซ้ายกด สายบนเสียงที่ต้องการ ส่วนมือขวาใช้สำหรับดีด
กระจับปี่เป็นเครื่องดนตรีประเภทดีด โดยใช้กระที่ทำจากเขาสัตว์ กล่องเสียงทำ ด้วยไม้ขนุนหรือไม้สัก ส่วนปลายสุดมีรู ๒ รู ใช้ใส่ลูกบิดและร้อยสาย เมื่อบรรเลง จะตั้งขนานกับลำตัว มือขวาจับกระสำหรับดีด มือซ้ายกดที่สายเพื่อเปลี่ยนระดับเสียง
กลองกันตรึมเป็นเครื่องหนังชนิดหนึ่งทำด้วยไม้ขุดกลวง ขึงหน้าด้านหนึ่งด้วยหนังดึงให้ตึงด้วยเชือก ใช้ดีประกอบจังหวะในวงกันตรึม
กรับคู่ เป็นกรับทำด้วยไม้เนื้อแข็ง ลักษณะเหมือนกับกรับเสภาของภาคกลาง แต่ขนาดเล็กกว่าใช้ ประกอบจังหวะดนตรีใน วงกันตรึม กรับคู่ชุดหนึ่งมี ๒ คู่ ใช้ขยับ ๒ มือ


4. ภาคใต้
ทับ เป็นเครื่องดนตรีที่มีความสำคัญ ในการให้จังหวะควบคุมการเปลี่ยนแปลงจังหวะและ เสริมท่ารำของการแสดงโนราให้ดีเยี่ยม ตัว ทับมีลักษณะคล้ายกลองยาว แต่มีขนาดเล็กกว่า มาก ยาวประมาณ ๔๐-๕๐ เซนติเมตร ทำด้วยไม้แก่น ขนุน หุ้มด้วยหนัง เช่น หนังค่าง หนังแมว ตรึงหนัง ด้วยเชือกด้ายและหวาย ทับใบหนึ่งจะมีเสียงทุ้ม เรียกว่า "ลูกเทิง" ส่วนอีกใบ หนึ่งจะ มีเสียงแหลมเรียกว่า "ลูกฉับ"
กลองโนรา ใช้ประกอบการแสดงโนราหรือหนัง ตะลุง โดยทั่วไปมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของหน้า กลองทั้ง ๒ ด้าน ประมาณ ๑๐ นิ้ว และมี ส่วนสูงประมาณ ๑๒ นิ้ว กลองโนรานิยมทำด้วยแก่น ไม้ขนุน เพราะเชื่อว่าทำให้เสียงดี หนังที่ หุ้มกลองใช้หนังวัวหรือควายหนุ่ม ถ้าจะให้ ดีต้องใช้หนังของลูกวัวหรือลูกควาย มี หมุดไม้หรือภาษาใต้เรียกว่า "ลูกสัก" ตอกยึดหนังหุ้มให้ตึง มีขาทั้งสอง ขาทำด้วยไม้ไผ่มีเชือกตรึงให้ติดกับ กลอง และมี ไม้ตีขนาดพอเหมาะ ๑ คู่ ถ้า เป็นกลองที่ใช้ประกอบการแสดงหนังตะลุง จะมี ขนาดเล็กกว่า ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๖ นิ้ว และมีส่วนสูงประมาณ ๘ นิ้ว
โหม่งเป็นเครื่องดนตรีที่มีส่วนสำคัญในการขับ บท ทั้งในด้านการให้เสียงและให้จังหวะ เพราะ โนราหรือหนังตะลุง ต้องร้องบทให้กลมกลืนกับ เสียงโหม่งซึ่งมี ๒ ระดับ คือ เสียงทุ้มและเสียง แหลม โดยจะยึดเสียงแหลมเป็นสิ่งสำคัญ เรียกเสียง เข้าโหม่ง ส่วนไม้ตีโหม่งจะใช้ยางหรือด้าย ดิบหุ้มพันเพื่อให้มีเสียงนุ่มเวลาตี
ปี่เครื่องดนตรีชนิดนี้มีความสำคัญใน การเสริมเสียงสะกดใจผู้ชม ให้เกิดความรู้ สึกเคลิบเคลิ้มและทำให้ผู้แสดงร่ายรำด้วยลีลา ที่อ่อนช้อย ตัวปี่ทำด้วยไม้เนื้อแข็ง หรือ ใช้แก่นไม้บางชนิด เช่น ไม้กระถิน ไม้มะม่วง ไม้ รักป่า หรือไม้มะปริง ส่วนพวกปี่ทำด้วยแผ่น ทองแดงและลิ้นปี่ทำด้วยใบตาล ซึ่งนิยมใช้ใบ ของต้นตาลเดี่ยวกลางทุ่ง เพราะเชื่อว่าจะทำ ให้ปี่มีเสียงไพเราะ
แตระพวงหรือกรับพวง เป็นเครื่องประกอบจังหวะทำจากไม้เนื้อแข็งขนาด ๐.๕x x ๖ นิ้ว นำมาเจาะรูหัวท้าย ร้อยเชือก ซ้อนกันประมาณ ๑๐ อัน ที่แกนหลังร้อยแตระทำ ด้วยโลหะ 

23 พ.ค. 2554

เปิดเทอมแล้วนักเรียนตั้งใจเรียนทุกคนนะครับ